พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระ ยอดขุนพล กร...
พระ ยอดขุนพล กรุศรีเทพ กรุวัดธุตังฆาราม จ.เพชรบูรณ์
พระยอดขุนพลเมืองศรีเทพ เนื้อดิน กรุเมืองศรีเทพ (เมืองเก่า จ.เพชรบูรณ์)
เป็นพระยุคปลายของเมืองศรีเทพ เข้าสู่ยุคลพบุรียุคต้น ศิลปะยุคเมืองศรีเทพยุคปลายนี้มีอิทธิพลกับรูปแบบศิลปะในการสร้างรูปเคารพสักการะบูชาและพระเครื่องในยุคต่อๆมาเช่นพระในยุคลพบุรีเป็นต้นเมืองศรีเทพนคร1000ปีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ นั้นเป็นโบราณสถานสำคัญมากโบราณสถานแห่งนี้เดิมถูกทิ้งร้างอยู่ต่อเมื่อกรมศิลปากรได้สำรวจและขุดแต่งจึงพบว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญยิ่ง เดิมนั้นชาวบ้านเรียกว่า "เมืองอภัยสาลี"เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗-๒๔๔๘ ได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" ลักษณะของเมืองนั้นสร้างเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เป็นชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่นได้ ดังนั้นโอกาสที่เมืองนี้ได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียงจึงเกิดขึ้นได้และมีความต่อเนื่องสมัยจนทำให้มีเรื่องราวของการนับถือสุริยเทพตามอินเดียโบราณ นับถือไศวนิกาย และไวณพนิกายตามขอม ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีทั้ง ศิลปทวารวดี ศิลปขอม ผสมผสานอยู่ด้วยกัน เมืองศรีเทพเดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี หากศึกษาจากสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาแล้ว ต้องยอมรับว่าที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านการก่อสร้าง ประมาณว่าเมืองนี้มีความเจริญอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ บริเวณเมืองศรีเทพนั้น มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ ถูกรก่อกำแพงเมืองด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ในลักษณะของเมืองโบราณทวารวดี ส่วนภายในเมืองนั้นมีองค์ปรางค์ศิลปลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกนั้นมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ เล่าว่าเมืองศรีเทพนั้นต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ ไปใช้ทำน้ำศักดิ์สิทธิในพิธีสำคัญตามคติของพราหมณ์ ประติมากรรมสำคัญของเมืองศรีเทพที่มีชื่อเสียงมากก็คือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งขุดพบสุริยเทพ หรือพระอาทิตย์ แต่ก็มี เทวรูปพระนารายณ์ พระกฤษณะ อยู่ด้วย เหมือนที่อื่นๆ อายุเทวรูปนั้นก็อยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ อีกทั้งยังพบศิลาจารึกที่มีลักษณะคล้ายเสาหลักเมือง จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ยังไม่ทราบความหมาย ตัวอักษรนั้นมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ และศิลาจารึกอีกสองหลักซึ่งอ่านได้ความว่า หลักแรกอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ กล่าวถึงพระเจ้าภววรมัน ส่วนอีกหลักหนึ่งอายุประมาณ พุทธศตวรรคที่ ๑๕-๑๖ จารึกเป็นอักษรขอม กล่าวถึงชื่อบุคคลที่มีอิทธิพลของขอม อีกทั้งยังพบเทวรูปทวารบาลศิลา ศิลปขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณพ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๐ เมืองแห่งนี้สร้างเป็นเมืองสองชั้นคือเมืองชั้นนอกและเมืองชั้นใน สำหรับเมืองชั้นในนั้นเป็นส่วนสำคัญของเมืองศรีเทพ ซึ่งพบว่ามีโบราณสถานขนาดใหญ่ถึง ๗๗ แห่ง มีช่องทางเข้าออกได้ ๘ ช่องทาง และมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างของเมืองนั้นสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละประมาณ ๑๖๐๐ เมตร ส่วนเมืองชั้นนอกอยู่ทางทิศตะวันออก มีคูน้ำกั้นอยู่มีช่องทางเข้า - ออก อยู่ ๗ ช่องทางและมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกัน สำหรับโบราณสถานที่เมืองชั้นนอกนั้นพบแล้ว ๕๗ แห่ง เมืองชั้นนอกมีขนาดใหญ่กว่าเมืองชั้นใน ดังนั้นเมืองศรีเทพทั้งสองเมืองนี้จึงก่อเป็นเชิงเทินที่ก่อด้วยดินและศิลาแลงล้อมรอบ สูงประมาณ ๖ เมตร ฐานกว้าง ๑๘-๒๗ เมตรส่วนบนกว้าง ๕-๙ เมตร นอกเชิงเทินมีคูเมืองล้อมรอบ ส่วนที่กว้างสุดประมาณ ๙๐ เมตร มีประตูทั้งหมด ๑๑ ประตู แต่ละประตูกว้างประมาณ ๑๘ เมตร ในการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๑นั้น ในชั้นดินระดับลึกสุด (ชั้นดินทราย) ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ๕ โครง โครงหนึ่งเป็นเพศหญิงนอนหงาย หันศีรษะไปทางทิศเหนือ พบกำไลสำริดคล้องแขนซ้ายบริเวณข้อศอก และมีเครื่องประดับทำด้วยหินสีส้มคล้องคอ รอบโครงกระดูกนั้นมีลูกปัดกระจายอยู่โดยรอบ เป็นหลักฐานด้ว่าเมืองศรีเทพแห่งนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ กลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่นั้นจึงมีคนพื้นเมืองกับชาวอินเดียที่เดินทางจาก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรขอม เมื่อขอมหมดอำนาจลง เมืองศรีเทพจึงถูกทิ้งร้างประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระพุทธรูป เทวรูป และพระเครื่องต่างๆของกรุศรีเทพ มีความหลากหลายและมีความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและศิลปะเชิงช่างตามคติความเชื่อแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดเวลา เพราะเมืองศรีเทพมีความรุ่งเรื่องและยาวนานเกือบ1000ปี ถึงจะสิ้นสุดของเมืองศรีเทพ ตั่งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘ และก็สิ้นสุดลงและก้าวเข้าสู่ยุคของลพบุรีโดยสมบูรณ์ พระพิมพ์ของทางลพบุรีไม่น้อยที่ยังคงสืบสานรูปแบบศิลปะเชิงช่างมาจากเมืองศรีเทพ อย่างเช่น พระร่วงนั่ง และ พระยอดขุนพล เป็นต้นซึ่งล้วนแล้วได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาจากยุคทวาราวดีในยุคเมืองศรีเทพเป็นส่วนมากการศึกษาพระศรีเทพยังมีข้อมูลอ้างอิงอยู่น้อยมากการเล่นหากันเฉพาะบางพิมพ์ที่เริ่มให้การยอมรับกัน อย่างเช่น พิมพ์พระยอดขุนพล พิมพ์พระทวาราวดี และพิมพ์อื่นๆที่ยังไม่แน่ชัดแต่การเช่าซื้อต้องดูที่เนื้อหาขององค์พระซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินดิบมีความละเอียดเหมือนพระคงหรือพระทางภาคเหนือมีความแกร่งหนึกนุ่มในองค์พระ องค์พระที่สมบูรณ์ไม่มีการล้างผิวหรือสัมผัสไม่มากจะพบคราบขาวๆหรือคราบแคลเซียมปกคลุมอยู่ทั่วองค์พระ และอาจจะเจอคล้ายน้ำเครือบเครื่องปั้นดินเผาติดมากับองค์พระซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้
ผู้เข้าชม
26793 ครั้ง
ราคา
โทรถาม
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ขวัญเมือง
ชื่อร้าน
ขวัญเมือง พระเครื่อง
ร้านค้า
kwanmuang-pradee.99wat.com
โทรศัพท์
0867721692
ไอดีไลน์
0867721692
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 164-4-18635-3
พระไพรีพินาศ 82 พรรษาสมเด็จพระ
เหรียญทองทิพย์ รุ่นหมุนเงิน หม
รูปหล่อหลวงพ่อตัด วัดชายนา หล
เสือหลวงพ่อก้าน วัดห้วยใหญ่ บา
เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์หลวงพ่อชุ
เหรียญหลวงปู่ฮก รุ่นเมตตา ออกว
นางพญาเข่าโค้ง พิษณุโลก กรุปี
เหรียญพระวอ รุ่น 1 รุ่นสร้างศา
พระพรหม``รุ่นพรหมเศรษฐี``เนื้
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
นานา
termboon
ภูมิ IR
Erawan
chathanumaan
เนินพระ99
APB716
เจริญสุข
Chobdoysata
แมวดำ99
ยุ้ย พลานุภาพ
เปียโน
someman
พีพีพระเครื่อง
kaew กจ.
Poosuphan89
Kittipan
นรินทร์ ทัพไทย
stp253
อ.ต่าย
บารมีหลวงปู่ศิลา
chaithawat
Airphaputorn
ep8600
ชา พูนสิน
natthanet
ชา วานิช
ชาวานิช
aonsamui
apiruk
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1298 คน
เพิ่มข้อมูล
พระ ยอดขุนพล กรุศรีเทพ กรุวัดธุตังฆาราม จ.เพชรบูรณ์
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระ ยอดขุนพล กรุศรีเทพ กรุวัดธุตังฆาราม จ.เพชรบูรณ์
รายละเอียด
พระยอดขุนพลเมืองศรีเทพ เนื้อดิน กรุเมืองศรีเทพ (เมืองเก่า จ.เพชรบูรณ์)
เป็นพระยุคปลายของเมืองศรีเทพ เข้าสู่ยุคลพบุรียุคต้น ศิลปะยุคเมืองศรีเทพยุคปลายนี้มีอิทธิพลกับรูปแบบศิลปะในการสร้างรูปเคารพสักการะบูชาและพระเครื่องในยุคต่อๆมาเช่นพระในยุคลพบุรีเป็นต้นเมืองศรีเทพนคร1000ปีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ นั้นเป็นโบราณสถานสำคัญมากโบราณสถานแห่งนี้เดิมถูกทิ้งร้างอยู่ต่อเมื่อกรมศิลปากรได้สำรวจและขุดแต่งจึงพบว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญยิ่ง เดิมนั้นชาวบ้านเรียกว่า "เมืองอภัยสาลี"เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗-๒๔๔๘ ได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" ลักษณะของเมืองนั้นสร้างเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เป็นชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่นได้ ดังนั้นโอกาสที่เมืองนี้ได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียงจึงเกิดขึ้นได้และมีความต่อเนื่องสมัยจนทำให้มีเรื่องราวของการนับถือสุริยเทพตามอินเดียโบราณ นับถือไศวนิกาย และไวณพนิกายตามขอม ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีทั้ง ศิลปทวารวดี ศิลปขอม ผสมผสานอยู่ด้วยกัน เมืองศรีเทพเดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี หากศึกษาจากสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาแล้ว ต้องยอมรับว่าที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านการก่อสร้าง ประมาณว่าเมืองนี้มีความเจริญอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ บริเวณเมืองศรีเทพนั้น มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ ถูกรก่อกำแพงเมืองด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ในลักษณะของเมืองโบราณทวารวดี ส่วนภายในเมืองนั้นมีองค์ปรางค์ศิลปลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกนั้นมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ เล่าว่าเมืองศรีเทพนั้นต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ ไปใช้ทำน้ำศักดิ์สิทธิในพิธีสำคัญตามคติของพราหมณ์ ประติมากรรมสำคัญของเมืองศรีเทพที่มีชื่อเสียงมากก็คือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งขุดพบสุริยเทพ หรือพระอาทิตย์ แต่ก็มี เทวรูปพระนารายณ์ พระกฤษณะ อยู่ด้วย เหมือนที่อื่นๆ อายุเทวรูปนั้นก็อยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ อีกทั้งยังพบศิลาจารึกที่มีลักษณะคล้ายเสาหลักเมือง จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ยังไม่ทราบความหมาย ตัวอักษรนั้นมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ และศิลาจารึกอีกสองหลักซึ่งอ่านได้ความว่า หลักแรกอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ กล่าวถึงพระเจ้าภววรมัน ส่วนอีกหลักหนึ่งอายุประมาณ พุทธศตวรรคที่ ๑๕-๑๖ จารึกเป็นอักษรขอม กล่าวถึงชื่อบุคคลที่มีอิทธิพลของขอม อีกทั้งยังพบเทวรูปทวารบาลศิลา ศิลปขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณพ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๐ เมืองแห่งนี้สร้างเป็นเมืองสองชั้นคือเมืองชั้นนอกและเมืองชั้นใน สำหรับเมืองชั้นในนั้นเป็นส่วนสำคัญของเมืองศรีเทพ ซึ่งพบว่ามีโบราณสถานขนาดใหญ่ถึง ๗๗ แห่ง มีช่องทางเข้าออกได้ ๘ ช่องทาง และมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างของเมืองนั้นสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละประมาณ ๑๖๐๐ เมตร ส่วนเมืองชั้นนอกอยู่ทางทิศตะวันออก มีคูน้ำกั้นอยู่มีช่องทางเข้า - ออก อยู่ ๗ ช่องทางและมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกัน สำหรับโบราณสถานที่เมืองชั้นนอกนั้นพบแล้ว ๕๗ แห่ง เมืองชั้นนอกมีขนาดใหญ่กว่าเมืองชั้นใน ดังนั้นเมืองศรีเทพทั้งสองเมืองนี้จึงก่อเป็นเชิงเทินที่ก่อด้วยดินและศิลาแลงล้อมรอบ สูงประมาณ ๖ เมตร ฐานกว้าง ๑๘-๒๗ เมตรส่วนบนกว้าง ๕-๙ เมตร นอกเชิงเทินมีคูเมืองล้อมรอบ ส่วนที่กว้างสุดประมาณ ๙๐ เมตร มีประตูทั้งหมด ๑๑ ประตู แต่ละประตูกว้างประมาณ ๑๘ เมตร ในการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๑นั้น ในชั้นดินระดับลึกสุด (ชั้นดินทราย) ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ๕ โครง โครงหนึ่งเป็นเพศหญิงนอนหงาย หันศีรษะไปทางทิศเหนือ พบกำไลสำริดคล้องแขนซ้ายบริเวณข้อศอก และมีเครื่องประดับทำด้วยหินสีส้มคล้องคอ รอบโครงกระดูกนั้นมีลูกปัดกระจายอยู่โดยรอบ เป็นหลักฐานด้ว่าเมืองศรีเทพแห่งนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ กลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่นั้นจึงมีคนพื้นเมืองกับชาวอินเดียที่เดินทางจาก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรขอม เมื่อขอมหมดอำนาจลง เมืองศรีเทพจึงถูกทิ้งร้างประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระพุทธรูป เทวรูป และพระเครื่องต่างๆของกรุศรีเทพ มีความหลากหลายและมีความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและศิลปะเชิงช่างตามคติความเชื่อแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดเวลา เพราะเมืองศรีเทพมีความรุ่งเรื่องและยาวนานเกือบ1000ปี ถึงจะสิ้นสุดของเมืองศรีเทพ ตั่งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘ และก็สิ้นสุดลงและก้าวเข้าสู่ยุคของลพบุรีโดยสมบูรณ์ พระพิมพ์ของทางลพบุรีไม่น้อยที่ยังคงสืบสานรูปแบบศิลปะเชิงช่างมาจากเมืองศรีเทพ อย่างเช่น พระร่วงนั่ง และ พระยอดขุนพล เป็นต้นซึ่งล้วนแล้วได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาจากยุคทวาราวดีในยุคเมืองศรีเทพเป็นส่วนมากการศึกษาพระศรีเทพยังมีข้อมูลอ้างอิงอยู่น้อยมากการเล่นหากันเฉพาะบางพิมพ์ที่เริ่มให้การยอมรับกัน อย่างเช่น พิมพ์พระยอดขุนพล พิมพ์พระทวาราวดี และพิมพ์อื่นๆที่ยังไม่แน่ชัดแต่การเช่าซื้อต้องดูที่เนื้อหาขององค์พระซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินดิบมีความละเอียดเหมือนพระคงหรือพระทางภาคเหนือมีความแกร่งหนึกนุ่มในองค์พระ องค์พระที่สมบูรณ์ไม่มีการล้างผิวหรือสัมผัสไม่มากจะพบคราบขาวๆหรือคราบแคลเซียมปกคลุมอยู่ทั่วองค์พระ และอาจจะเจอคล้ายน้ำเครือบเครื่องปั้นดินเผาติดมากับองค์พระซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม
จำนวนผู้เข้าชม
26951 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ขวัญเมือง
ชื่อร้าน
ขวัญเมือง พระเครื่อง
URL
http://www.kwanmuang-pradee.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0867721692
ID LINE
0867721692
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 164-4-18635-3
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี